วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555


การประกันอัคคีภัย
การประกันอัคคีภัย

http://www.oic.or.th/uploadfile/contentM/gif/ou_file_management_20061121032038_pict.gif กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
http://www.oic.or.th/uploadfile/contentM/gif/ou_file_management_20061121032038_pict.gif
 ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
http://www.oic.or.th/uploadfile/contentM/gif/ou_file_management_20061121032038_pict.gif
 เงื่อนไขทั่วไปในการรับประกันภัย
- การประกันภัยทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
- การตกเป็นโมฆียะของกรมธรรม์ประกันภัย
- หน้าที่ในการรักษาสิทธิของบริษัทเพื่อรับช่วงสิทธิ
- การผิดคำรับรอง
- เงื่อนไขการเรียกร้องและชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
- การระงับไปแห่งสัญญาประกันภัย
- การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
- อายุความ
- การบอกกล่าว
http://www.oic.or.th/uploadfile/contentM/gif/ou_file_management_20061121032038_pict.gif
 การขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมจากภัยพื้นฐาน
http://www.oic.or.th/uploadfile/contentM/gif/ou_file_management_20061121032038_pict.gif
 สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอัคคีภัย
http://www.oic.or.th/uploadfile/contentM/gif/ou_file_management_20061121032038_pict.gif
 คำสั่งนายทะเบียนที่ 9/2549 เรื่อง ให้ใช้เอกสารประกอบ ให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงเอกสารแนบท้าย และอัตราเบี้ยประกันภัยของเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย

คำจำกัดความ
ถ้อยคำและคำบรรยายซึ่งมีความหมายเฉพาะที่ได้ให้ไว้ในส่วนใดก็ตามของกรมธรรม์ประกันภัยนี้จะถือว่าเป็นความหมายเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะปรากฎใดส่วนใดก็ตามเว้นแต่จะคงไว้เป็นอย่างอื่นในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
คำว่า กรมธรรม์ประกันภัย หมายความรวมถึง ใบคำขอเอาประกันภัย ตารางกรมธรรม์เงื่อนไข ข้อยกเว้น ข้อกำหนด เอกสารแนบท้าย ข้อระบุพิเศษ ข้อรับรอง และใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งสัญญาประกันภัยเดียวกัน
คำว่า บริษัท หมายความถึง ผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
คำว่า ผู้เอาประกันภัย หมายความถึง บุคคล หรือนิติบุคคล ตามที่ปรากฎชื่อเป็นผู้เอาประกันภัยในหน้าตารางกรมธรรม์ ซึ่งตกลงจะชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัท
คำว่า ความเสียหาย หมายความถึง การสูญเสียหรือเสียหายไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนอันเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
คำว่า ความเสียหายสืบเนื่อง หมายความถึง ความเสียหายทางการเงินซึ่งเป็นผลสืบเนื่องและนอกเหนือจากความเสียหายทางวัตถุ อันเกิดจากภัยที่เอาประกันภัยไว้
คำว่า อัคคีภัย หมายความถึง ไฟไหม้ หรือฟ้าผ่า หรือการระเบิดของแก๊สเฉพาะที่ได้กำหนดไว้ว่าได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้

ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
เพื่อเป็นการตอบแทนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยต้องชำระให้แก่บริษัทในการเอาประกันภัยทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ บริษัทให้สัญญาต่อผู้เอาประกันภัยทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้บริษัทให้สัญญาต่อผู้เอาประกันภัยว่าหากทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย เนื่องจาก
 
1) ไฟไหม้ แต่ไม่รวมถึงความเสียหาย
1.1 จากแรงระเบิด อันเป็นผลมาจากไฟไหม้ เว้นแต่แรงระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัย
1.2 โดยตรงหรือโดยอ้อมจากแผ่นดินไหว
1.3 ต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย อันเกิดจาก
1.3.1 การบูดเน่าหรือการระอุตามธรรมชาติ หรือ การลุกไหม้ขึ้นเองเฉพาะที่เกิดจากตัวทรัพย์สินนั้นเองเท่านั้น หรือ
1.3.2 การที่ทรัพย์สินนั้นอยู่ในระหว่างกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งใช้ความร้อนหรือการทำให้แห้ง
2) ฟ้าผ่า
3) แรงระเบิดของแก๊ส ที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงความเสียหายจากการระเบิดของแก๊สจากแผ่นดินไหว
4) ความเสียหายเนื่องจากภัยเพิ่มพิเศษ ที่ได้ระบุไว้ชัดเจนในกรมธรรม์ประกันภัย
ในระหว่างระยะเวลาที่ได้เอาประกันภัยตามที่ได้ระบุในตารางกรมธรรม์ซึ่งรวมถึงช่วงเวลาที่ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงต่ออายุสัญญาประกันภัยด้วย (หากมี) บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงในขณะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย หรือเลือกที่จะทำการสร้างให้ใหม่ หรือซ่อมแซมให้คืนสภาพเดิม หรือจัดหาทรัพย์สินมาทดแทนทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด หรือบางส่วน 
ความรับผิดของบริษัทภายใต้กรมธรรม์ฉบับนี้จะไม่เกิน
1) จำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ทั้งหมด หรือจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ตามรายการแต่ละรายการในขณะที่เกิดความเสียหาย
2) จำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่ภายหลังจากหักมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาที่เอาประกันภัยเดียวกัน เว้นแต่บริษัทได้เคยตกลงไว้ก่อนแล้วในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ ให้จำนวนเงินเอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่นั้นกลับเต็มจำนวนดังเดิม โดยผู้เอาประกันภัยตกลงที่จะชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม

เงื่อนไขทั่วไปในการรับประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ไม่คุ้มครอง
1) ความเสียหายซึ่งเกิดจากสงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะมีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฏ การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวาย การกระทำของผู้ก่อการร้าย การปฏิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก หรือเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก

2) ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรง หรือโดยอ้อมจากสาเหตุดังนี้
2.1 การแผ่รังสี หรือการแพร่กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หรือจากกากนิวเคลียร์ใด ๆ อันเนื่องมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
2.2 การระเบิดของกัมมันตรังสี หรือส่วนประกอบของนิวเคลียร์ หรือทรัพย์อันตรายอื่นใดที่อาจเกิดการระเบิดในกระบวนการนิวเคลียร์ได้

3) ความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายหรือมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยทางทะเล หรือกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่ง ยกเว้นความเสียหายส่วนเกินกว่าจำนวนเงิน ซึ่งจะได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวนั้น

4) ทรัพย์สินต่อไปนี้ เว้นแต่จะได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่นในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
4.1 สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์
4.2 เงินแท่ง หรือเงินรูปพรรณ หรือทองคำแท่ง หรือทองรูปพรรณ หรืออัญมนี
4.3 โบราณวัตถุหรือวัตถุสำหรับความเสียหายรวมส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท 
4.4 ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสาร แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ ลวดลายแบบ หรือแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์
4.5 หลักประกันหนี้สิน หลักทรัพย์ เอกสารสำคัญต่าง ๆ ไปรษณียากร อากรแสตมป์ เงินตรา ธนบัตร เช็ค สมุดบัญชี หรือสมุดหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจใด ๆ
4.6 วัตถุระเบิด
4.7 ไดนาโม หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า แผงควบคุมไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ซึ่งได้รับความเสียหายเนื่องจาก หรือเพราะการเดินเครื่องเกินกำลัง หรือได้รับกระแสไฟฟ้าเกินกำลัง หรือไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงไฟฟ้าลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า เฉพาะเครื่องที่เกิดการเสียหายในกรณีดังกล่าว

5) ความเสียหายต่อเนื่องใด ๆ ทุกชนิดเว้นแต่การสูญเสียรายได้จากค่าเช่าที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ว่าได้รับความคุ้มครอง

6) ความเสียหายจากการเผาทรัพย์สิน โดยคำสั่งเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย

เงื่อนไขทั่วไปในการรับประกันภัย
1. การประกันภัยทรัพย์สินต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง
ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย และปรากฎว่าทรัพย์สินนั้นมูลค่าสูงกว่าจำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้ให้ถือว่า ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับประกันภัยเองในส่วนที่ต่างกันและในการคำนวณค่าสินไหมทดแทนผู้เอาประกันภัยต้องรับภาระส่วนเฉลี่ยความเสียหายไปตามส่วนทุก ๆ รายการ และหากมีมากกว่าหนึ่งรายการให้แยกพิจารณาเป็นแต่ละรายการโดยบริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแต่ละรายการตามหลักการต่อไปนี้

ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทจะชดใช้แต่ละรายการ =( (จำนวนเงินเอาประกันภัย / มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน ณ เวลา) x มูลค่าความเสียหาย) - ความเสียหายส่วนแรก (ถ้ามี) 

2. การตกเป็นโมฆียะของกรมธรรม์ประกันภัย
ถ้าได้มีการบรรยายคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญแห่งทรัพย์สินที่เอาประกันภัยหรือในสาระสำคัญแห่งสินปลูกสร้างหรือสถานที่ตั้งของทรัพย์สินหรือสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว หรือในข้อความอันเป็นสาระสำคัญอันจำเป็นต้องรู้เพื่อการประเมินความเสี่ยงภัย หรือเพื่อการกำหนดเบี้ยประกันภัยหรือมีการละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงดังกล่าวนั้น ให้ถือว่าสัญญาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัย ฉบับนี้ตกเป็นโมฆียะและบริษัททรงไว้ซึ่งสิทธิในการบอกล้างสัญญาประกันภัยนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

3. หน้าที่ในการรักษาสิทธิของบริษัทเพื่อรับช่วงสิทธิ
โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท ผู้เอาประกันภัยจะต้องกระทำทุกอย่างเท่าที่จำเป็นหรือเท่าที่บริษัทจะร้องขอให้ทำตามสควรไม่ว่าก่อนหรือหลังการรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท เพื่อรักษาสิทธิของบริษัทในการเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก

4. การผิดคำรับรอง
เมื่อผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อรับรองต่าง ๆ ที่แนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ แต่เจตนาไม่ปฏิบัติตามข้อรับรองดังกล่าว จนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยนั้นมีความเสี่ยงสูงขึ้น บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายอันเนื่องมาจากความเสี่ยงภัยที่สูงขึ้นนั้น

5. เงื่อนไขการเรียกร้องและชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
5.1 หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ดังนี้
5.1.1 ต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้าและต้องส่งมอบหลักฐานและเอกสารตามที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ให้บริษัทภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเกิดความเสียหาย เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยมีเหตุอันสมควรไม่อาจกระทำการดังกล่าวได้ในภายในเวลาที่กำหนดหรือภายในกำหนดเวลาที่บริษัทขยายให้โดยทำเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เอาประกันภัยเอง
(1) คำเรียกร้องเป็นหนังสือเกี่ยวกับความเสียหายซึ่งต้องแจ้งรายละเอียดแห่งทรัพย์สินที่สูญเสียหรือเสียหายและมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินนั้น ๆ โดยละเอียดเท่าที่จะทำได้ตามมูลค่าในเวลาเกิดความเสียหายซึ่งไม่ได้รวมกำไร
(2) การประกันภัยอื่น ๆ รวมทั้งการประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยอื่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
5.1.2 ต้องแสดง หรือจัดหา หรือแจ้ง หรือมอบให้บริษัทซึ่งพยานหลักฐานและรายการเพิ่มเติม เช่น แผนผัง รายการละเอียด สมุดบัญชี ใบสำคัญการบัญชี ใบกำกับสินค้า ต้นฉบับ คู่ฉบับ หรือสำเนาแห่งเอกสารนั้น ๆ ข้อพิสูจน์และข้อความเกี่ยวกับการเรียกร้องและต้นเพลิงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดอัคคีภัยและพฤติการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหาย ตามที่บริษัทต้องการตามสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เอาประกันภัยเอง
5.1.3 จะต้องดำเนินการและยินยอมให้บริษัทหรือตัวแทนกระทำการใด ๆ ที่เหมาะสามในการป้องกันความเสียหายอันอาจเพิ่มขึ้น
บริษัทอาจไม่รับพิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หากผู้เอาประกันภัยจงใจหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเจตนาไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นแม้ว่าเพียงข้อหนึ่งใดก็ตาม
5.2 การชดใช้โดยการเลือกทำการสร้างให้ใหม่หรือจัดหาทรัพย์สินมาทดแทน
บริษัทอาจจะเลือกทำการสร้างให้ใหม่ หรือจัดหาทรัพย์สินมาทดแทนทรัพย์สินที่สูญเสียหรือเสียหายทั้งหมด หรือส่วนใดส่วนหนึ่งแทนการจ่ายเงินชดใช้การสูญเสียหรือการเสียหายที่เกิดขึ้น หรืออาจจะร่วมกับบริษัทประกันภัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกระทำการดังกล่าวก็ได้
แต่บริษัทไม่ผูกพันที่จะต้องจัดสร้างใช้ให้ใหม่ให้เหมือนกับทรัพย์สินเดิมหรือให้ครบถ้วนทุกประการเพียงแต่ว่าจัดไปตามสภาพการจะอำนวย โดยบริษัทจะกระทำการให้สมเหตุสมผลที่สุดและไม่ว่ากรณีใด ๆ บริษัทไม่ผูกพันที่จะต้องทำการสร้างให้ใหม่เกินกว่ามูลค่าของทรัพย์สิน ในขณะที่เกิดความเสียหายหรือเกินกว่าจำนวนเงินซึ่งบริษัทได้รับประกันภัย
ถ้าบริษัทเลือกที่จะทำการสร้างให้ใหม่ หรือจัดหาทรัพย์สินมาแทน ผู้เอาประกันภัยโดยค่าใช้จ่ายของตนเองจะต้องจัดหาแปลน แผนผัง รายละเอียดประกอบแปลน ปริมาณ ขนาดและรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่บริษัทต้องการให้แก่บริษัท และการกระทำใด ๆ ที่บริษัทได้ทำไปหรือสั่งให้ทำไปเพื่อที่จะพิจารณาทำการสร้างให้ใหม่ หรือจัดหาทรัพย์สินมาแทน ไม่ถือว่าเป็นการเลือกโดยบริษัทในอันที่จะทำการสร้างให้ใหม่ หรือจัดหาทรัพย์สินมาทดแทน
ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถที่จะจัดทำการสร้างให้ใหม่หรือซ่อมแซมทรัพย์สินที่เอาประกันภัยนี้ เพราะเหตุว่ามีเทศบัญญัติหรือกฎข้อบังคับใด ๆ บัญญัติไว้ในเรื่องแนวของถนนหรือการก่อสร้างอาคารหรือสิ่งอื่น ๆ บริษัทจะรับผิดชดใช้เงินเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการสร้างใหม่ หรือซ่อมแซมทรัพย์สินนั้น ๆ ให้คืนสภาพเดิมหากทำได้ตามกฎหมาย
5.3 การประกันภัยซ้ำซ้อนและการร่วมเฉลี่ยการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งเป็นหนังสือให้บริษัททราบถึงการประกันภัยซึ่งได้ทำไว้แล้วหรือที่จะมีขึ้นภายหลังหากทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้นี้ได้มีการประกันภัยกับบริษัทประกันภัยอื่น ซึ่งให้ความคุ้มครองในภัยเดียวกันกับกรมธรรม์ฉบับนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ถ้าในขณะที่เกิดความเสียหายขึ้นและปรากฎว่าทรัพย์สินรายเดียวกันได้เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยอื่นไม่ว่าโดยผู้เอาประกันภัยเอง หรือโดยบุคคลอื่นใดที่กระทำในนามผู้เอาประกันภัย บริษัทจะร่วมเฉลี่ยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกินกว่าส่วนเฉลี่ยตามจำนวนเงินที่บริษัทได้รับประกันภัยต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมทั้งสิ้นแต่ไม่เกินกว่าจะนวนเงินเอาประกันภัยที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ และเป็นที่ตกลงว่าการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเช่นนี้ บริษัทจะไม่ยกเอาลำดับการรับประกันภัยก่อน - หลัง ขึ้นเป็นข้ออ้างในการเข้าร่วมเฉลี่ยชดใช้ความเสียหายดังกล่าว
5.4 สิทธิของบริษัทในซากทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย
เมื่อมีความเสียหายใดเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะละทิ้งทรัพย์สินที่เอาประกันภัยนั้นไม่ได้ และบริษัทอาจจะ
5.4.1 เรียกร้องให้ส่งมอบทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยแก่บริษัท
5.4.2 เข้ายึดถือครอบครองทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยและสำรวจ จัด คัด เลือก โยกย้าย หรือจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ทรัพย์สินนั้น
5.4.3 ขายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัย เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
บริษัทอาจใช้สิทธิที่มีอยู่ตามเงื่อนไขนี้ได้ทุกเวลานับตั้งแต่เกิดความเสียหายจนกว่าสิทธิเรียกร้องในความเสียหายนั้น ๆ จะตกลงกันได้เป็นเด็ดขาดหรือได้มีการบอกกล่าวเป็นหนังสือจากผู้เอาประกันภัยว่าได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
การใช้สิทธิของบริษัทข้างต้นจะไม่ก่อให้เกิดความรับผิดเพิ่มขึ้นแก่บริษัทและจะไม่ทำให้สิทธิของบริษัทในการที่จะอ้างเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อโต้แย้งการเรียกร้องใด ๆ ลดน้อยลง
5.5 การทุจริต
บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายเนื่องจากการทุจริตของผู้เอาประกันภัยในกรณีดังต่อไปนี้
5.5.1 ความเสียหายนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำโดยเจตนาหรือการสมรู้ของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์หรือบุคคลใดที่กระทำในนามของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ และ / หรือ
5.5.2 ผู้เอาประกันภัยหรือผู้แทนของผู้เอาประกันภัยได้กระทำการใดหรือแสดงข้อความหรือเอกสารใดอันเป็นเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้
5.6 การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
ในกรณีที่มีข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใด ๆ ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ระหว่างผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยกับบริษัท และหากผู้มีสิทธิเรียกร้องประสงค์และเห็นควรยุติข้อพิพาทนั้น โดยวิธิการอนุญาโตตุลาการ บริษัทตกลงยินยอมและให้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับกรมการประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

6. การระงับไปแห่งสัญญาประกันภัย
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ เป็นอันระงับสิ้นไปทันทีเมื่อ
6.1 การค้าหรือการผลิต ซึ่งดำเนินการอยู่ภายในสิ่งปลูกสร้างหรือทรัพย์สิน ที่เก็บไว้ในสถานที่ที่เอาประกันภัยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์และการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ทำให้การเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น
6.2 ทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้ ถูกโยกย้ายไปยังสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่อื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์
6.3 กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้ ได้ถูกเปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยวิธีอื่นนอกจากทางพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
6.4 สิ่งปลูกสร้างที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งปลูกสร้างนั้น ได้มีการพังทลายหรือเคลื่อนที่ไปจากเดิมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน จนทำให้สิ่งปลูกสร้างนั้นเสื่อมประโยชน์ในการใช้ทั้งหมดหรือบางส่วน จนทำให้สิ่งปลูกสร้างนั้นเสื่อมประโยชน์ในการใช้ทั้งหมดหรือบางส่วนทำให้สิ่งปลูกสร้างนั้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งปลูกสร้างนั้นหรือทรัพย์สินที่อยู่ภายในสิ่งปลูกสร้างนั้นตกอยู่ในการเสี่ยงต่อวินาศภัยเพิ่มขึ้น เว้นแต่เหตุดังกล่าวมานี้สืบเนื่องมาจากอัคคีภัย หรือสาเหตุอื่นซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ให้ความคุ้มครอง
6.5 ผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัยเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันเริ่มต้นระยะเวลาเอาประกันภัย
อย่างไรก็ตามเงื่อนไขข้อ 6 นี้ จะไม่นำมาบังคับใช้หากผู้เอาประกันภัยได้แจ้งให้บริษัททราบและบริษัทตกลงยินยอมรับประกันภัยต่อไป โดยได้บันทึกการแก้ไขแสดงไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้แล้ว

7. การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย
7.1 บริษัทอาจบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้โดยไม่จำเป็นต้องคืนเบี้ยประกันภัยหากผู้เอาประกันภัยทุจริต
7.2 บริษัทอาจบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัย ตามที่อยู่ครั้งสุดท้ายที่แจ้งให้บริษัททราบ ในกรณีนี้บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน
7.3 ผู้เอาประกันภัยอาจบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบเป็นหนังสือและมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืน หลังจากหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออก โดยคิดตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้น หรือหากยังไม่ได้ชำระเบี้ยประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระโดยคิดตามระยะเวลาและอัตราเบี้ยประกันภัยในทำนองเดียวกัน ตามตารางต่อไปนี้
ตารางอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้น

ระยะเวลาประกันภัย
ไม่เกิน/เดือน
ร้อยละของ
เบี้ยประกันภัยเต็มปี
1
15
2
25
3
35
4
45
5
55
6
65
7
75
8
80
9
85
10
90
11
95
12
100


8. อายุความ
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยเอาความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงในทุกกรณีหากผู้เอาประกันภัยมิได้ดำเนินคดีทางศาลหรือยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในกำหนดระยะเวลาสองปี นับแต่วันเกิดความเสียหาย เว้นแต่ข้อเรียกร้องนั้นอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในศาล หรือการพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาด

9. การบอกกล่าว
คำบอกกล่าวและการติดต่อใด ๆ ระหว่างผู้เอาประกันภัยและบริษัทในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ต้องกระทำเป็นหนังสือจึงจะมีผลบังคับได้

หากผู้เอาประกันภัยต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมจากความคุ้มครองพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น สามารถซื้อเพิ่มเติมได้โดยต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่ม ภัยที่ขอซื้อเพิ่มเติมได้มีดังนี้
ภัยลมพายุ, ภัยจากลูกเห็บ, ภัยระเบิด, ภัยอากาศยาน, ภัยจากยวดยานพาหนะ, ภัยจากควัน, ภัยแผ่นดินไหว, ภัยน้ำท่วม, ภัยเนื่องจากน้ำ, ภัยจลาจลและนัดหยุดงาน, ภัยจากการกระทำอย่างป่าเถื่อนหรือการกระทำอันมีเจตนาร้าย ภัยเกิดขึ้นเองตามปกติวิสัย มีการลุกไหม้หรือระเบิด, ภัยเกิดขึ้นเองตามปกติวิสัย และ/หรือ ไม่มีการลุกไหม้หรือระเบิด, ภัยต่อเครื่องไฟฟ้า

สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันอัคคีภัย
5.1 เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า และต้องส่งมอบหนังสือแจ้งรายละเอียดทรัพย์สินที่สูญเสียและเสียหายและมูลค่าความเสียหายของทรัพย์สินนั้น ๆ โดยละเอียด
5.2 การเปลี่ยนแปลงความเสี่ยง
- หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ทำให้สาระสำคัญของการประกันภัยถูกทำลายลง เช่น การเปลี่ยนแปลงการค้าหรือการผลิตไปจากที่ระบุไว้ในตาราง กรมธรรม์ฯ การย้ายทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไปยังสิ่งปลูกสร้างหรือสถานที่อื่นใด นอกจากที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งให้บริษัททราบ
- ถ้าหากมีการเปลี่ยนมือของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยโดยวิธีอื่นนอกจากโดยทางพินัยกรรม หรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไปให้ผู้อื่น ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งการโอนให้บริษัททราบ เพื่อประโยชน์ในความคุ้มครองที่จะโอนตามไปด้วย
5.3 ทรัพย์สินที่มีการเอาประกันภัยประเภทอื่นไว้แล้ว เช่นการประกันภัยทางทะเล หรือประกันภัยรถยนต์ ผู้เอาประกันภัยจะสามารถเรียกร้องความเสียหายจากการประกันอัคคีภัยได้เฉพาะจำนวนเงินที่เกินกว่าจะเรียกร้องได้จากกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ทำไว้อยู่ก่อนหน้า
5.4 ผู้เอาประกันอัคคีภัยสามารถขยายความคุ้มครองไปถึงเหตุการณ์หรือภัยต่าง ๆ ที่ได้ไม่ระบุไว้ในความคุ้มครองพื้นฐานได้ เช่น ภัยธรรมชาติ และภัยอื่น ๆ โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม

การประกันภัยต่อ
การประกันภัยต่อ
หมายถึงการกระจายการเสี่ยงภัยของผู้รับประกันภัยกับผู้รับประกันภัยด้วยกันเอง เนื่องจากความสามารถในการรับเสียงภัยไว้เองของบริษัทมีจำกัด จึงกระจายการเสี่ยงภัยส่วนที่เหลือให้กับผู้รับประกันภัยอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัยต่อ (Reinsurer)
ความจำเป็นของการทำประกันภัยต่อ
1. ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีมูลค่าสูงกว่าเงินกองทุนของบริษัท
2. ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงภัยสูง
3. สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยมีความเสี่ยงภัยสูง
4. ข้อจำกัดของกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทประกันภัยรับเสี่ยงภัยไว้เองได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุน
ประโยชน์ของการประกันภัยต่อ
1. เพิ่มศักยภาพในการรับประกันภัย
2. เพื่อให้เกิดเสถียรภาพกับผลการรับประกันภัย
3. เพื่อกระจายความเสี่ยงภัยออกไปให้กว้างขวางขึ้น
4. เพื่อความมั่นคงทางด้านการเงิน
5. เพื่อรับบริการทางวิชาการจากบริษัทรับประกันภัยต่อ
ประเภทของการประกันภัยต่อ
1. การประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย (Facultative Reinsurance) คือการประกันภัยซึ่งบริษัทเอาประกันภัยต่อต้องเสนอรายละเอียดของภัยแต่ละราย ไปให้กับบริษัทผู้รับประกันภัยต่อพิจารณา ซึ่งอาจจะกระทำโดยทางจดหมาย โทรศัพท์ โทรสาร หรืออื่น ๆ บริษัทรับประกันภัยต่อสามารถที่จะบอกรับหรือปฏิเสธการเอาประกันภัยต่อชนิดนี้ได้
2. การประกันภัยต่อแบบสัญญา (Treaty Reinsurance) คือการประกันภัยที่เป็นข้อผูกมัดระหว่างบริษัทเอาประกันภัยต่อจะต้องประกันภัยต่อให้แก่ผู้รับประกันภัยต่อ และผู้รับประกันภัยต่อสัญญาว่าจะรับประกันภัยต่อในสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ การประกันภัยต่อแบบนี้แบ่งออกเป็น
2.1 การประกันภัยต่อแบบเป็นสัดส่วน การประกันภัยต่อแบบนี้ กำหนดจากจำนวนเงินเอาประกันภัยเป็นหลัก เบี้ยประกันภัยและค่าสินไหมทดแทนจะแบ่งกันระหว่างผู้เอาประกันภัยต่อกับผู้รับประกันภัยต่อตามอัตราส่วนของจำนวนเงินเอาประกันภัยของแต่ละฝ่ายที่รับเสี่ยงภัย
2.2 การประกันภัยต่อแบบไม่เป็นสัดส่วน การประกันภัยแบบนี้ จะไม่กำหนดจากจำนวนเงินเอาประกันภัย แต่จะกำหนดจากจำนวนค่าสินไหมทดแทนเป็นหลัก โดยผู้รับประกันภัยต่อจะชดใช้ก็ต่อเมื่อค่าสินไหมทดแทนสูงกว่าวงเงินที่ได้ตกลงกันไว้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงกันไว้
วิธีการทำประกันภัยต่อ
1. ทำประกันภัยต่อกับบริษัทประกันภัยต่อโดยตรง
2. ทำประกันภัยต่อโดยผ่านนายหน้าบริษัทประกันภัยต่อ

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

การประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน

การประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน

การ ประกันภัยเจ้าบ้านเป็นการประกันภัยที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองต่อ ผู้เป็นเจ้าของอาคาร ประเภทบ้านอยู่อาศัย สำนักงานในบ้าน หรือห้องชุดอยู่อาศัยในแฟลต แมนชั่น หรือคอนโดมิเนียม ให้ได้รับ ความคุ้มครองหลายอย่างไว้กรมธรรม์เดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย ความคุ้มครองต่อความเสียหายจากอัคคีภัย ความเสียหายจากโจรกรรมหรือการลักทรัพย์ ความเสียหายต่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหาย ต่อทรัพย์สินในอาคาร การสูญเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว การจ่ายเงินชดเชย สำหรับการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ เป็นต้น         การประกันภัยประเภทนี้ให้ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัยอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้รับความคุ้มครองที่หลากหลายแล้ว ยังสะดวกในการต่ออายุการประกันภัยด้วย เนื่องจากเป็นการผนวกเอากรมธรรม์หลายรูปแบบ ไว้ในกรมธรรม์เดียว และที่สำคัญเป็นการช่วยประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้อีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับการทำประกันภัยหลายประเภทหลายกรมธรรม์
ความคุ้มครองของการประกันภัย สำหรับเจ้าบ้าน

กรมธรรม์ ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้านมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละบริษัทอาจเลือกขายความคุ้มครองแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปความคุ้มครองจะมี 5 หมวด ดังนี้


หมวด 1 : ความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคาร
หมวด 2 : ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินในอาคาร
หมวด 3 : ค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนที่พักอาศัยชั่วคราว และการสูญเสียค่าเช่า
หมวด 4 : ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
หมวด 5 : เงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
โดยแต่ละหมวด มีความคุ้มครอง ดังนี้

ความคุ้มครองต่ออาคารและทรัพย์สินในอาคาร


บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัย สำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคาร หรือต่อทรัพย์สินในอาคารที่เอาประกันภัย อันเนื่องมาจากอัคคีภัย ฟ้าผ่า การระเบิด อากาศยานหรือสิ่งที่หล่นจากอากาศยาน น้ำท่วม การไหลล้นหรือการระเบิดของแท้งค์น้ำ อุปกรณ์ส่วนควบของแท้งค์น้ำหรือท่อน้ำ การลักทรัพย์โดยใช้กำลังรุนแรงเพื่อเข้าไปหรือออกจากอาคาร การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ หรือความพยายาม กระทำการดังกล่าว อาคารถูกชนโดยพาหนะทางบก ม้าหรือปศุสัตว์ ที่ไม่ได้เป็นของหรืออยู่ในความควบคุมของผู้เอาประกันภัยหรือของสมาชิกใน ครอบครัวที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย แผ่นดินไหว พายุเฮอริเคน พายุไซโคลน พายุใต้ฝุ่น หรือลมพายุ

ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวและการสูญเสียค่าเช่า

กล่าว คือ ในกรณีที่อาคารที่พักอาศัยที่ทำประกันนั้นได้รับความเสียหายจากภัยดังที่ได้ กล่าวมาแล้วข้างต้น จนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ จะต้องทำการซ่อมแซมหรือสร้างขึ้นใหม่ และในระหว่างรอการซ่อมแซมหรือสร้างใหม่นั้น ผู้เอาประกันภัยก็จะต้องหาที่พักอาศัยชั่วคราว เช่น บ้านเช่า/โรงแรม/อพาร์ทเมนท์ เป็นต้น บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยเพื่อเป็นค่าเช่าที่พัก อาศัยชั่วคราวดังกล่าว 

ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของอาคารและ มีรายได้จากการให้เช่าอาคารนั้น เช่น เจ้าของบ้านเช่า/ เจ้าของหอพัก/เจ้าของอพาร์ทเมนท์ เป็นต้น หากเกิดความเสียหายต่ออาคารจากภัยที่คุ้มครองตามกรมธรรม์จนทำให้เจ้าของ อาคารต้องขาดรายได้ซึ่งเคยได้รับ บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามจำนวนเงินเอาประกันภัย ที่ระบุในตาราง

คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก


บริษัท จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ในฐานะเจ้าของอาคารที่เอาประกันภัย หรือในฐานะผู้เช่า ซึ่งพักอาศัยในอาคารที่เอาประกันภัย โดยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก แบ่งเป็น 2 กรณี คือ ความรับผิดต่อร่างกายของบุคคลภายนอก เช่น การเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ความบาดเจ็บต่อร่างกาย (ตัวอย่าง เช่น บุคคลภายนอกมาบ้านของผู้เอาประกันภัยแล้วลื่นล้มในห้องน้ำหัวฟาดพื้น) และความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิด ขึ้นในอาคารหรือเกี่ยวกับอาคาร (ตัวอย่าง เช่น รถของบุคคลภายนอกจอดไว้ในบ้านของผู้เอาประกันภัยแล้วของจากที่สูงตกใส่ หลังคารถ แล้วทำให้รถได้รับความเสียหาย)

ความคุ้มครองสำหรับเงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย

หาก ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุขณะที่อยู่ในอาคารที่ทำประกันภัยและเป็นเหตุ ให้เสียชีวิตทันที หรือได้รับบาดเจ็บอันมีสาเหตุมาจากภัยภายใต้ความคุ้มครองต่ออาคาร และทรัพย์สินในอาคารดังได้กล่าวมาแล้วนั้น และมีผลทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเสียชีวิตภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุ บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ (ตัวอย่าง เช่น อาคารที่เอาประกันภัยเกิดเพลิงไหม้แล้วผู้เอาประกันภัยถูกไฟคลอกตาย/ เกิดระเบิดในอาคารที่เอาประกันภัย ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บต้องรับการรักษาพยาบาล และต่อมาเสียชีวิตภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดระเบิดนั้น)

ความคุ้มครองที่สามารถซื้อเพิ่มเติมได้

ผู้เอาประกันภัยสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้อีก ดังนี้

1. ความเสียหายต่อกระจก หมายถึง การแตกของกระจกที่เป็นเสมือนผนังอาคารและกระจกประตูหน้าต่างที่เอาประกันภัย ไว้ โดยบริษัทจะชดใช้โดยเลือกกระจกอื่นมาทดแทนหรือซ่อมแซมกระจกแตกไป และ

2. ความคุ้มครองเงินชดเชยการเสียชีวิตของคู่สมรสและสมาชิกในครอบครัวของผู้เอา ประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยต้องการได้รับเงินชดเชย กรณีคู่สมรสหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัยตามที่ระบุชื่อไว้ ได้รับบาดเจ็บอันมีสาเหตุมาจากภัยที่ระบุภายใต้ความคุ้มครองต่ออาคารและ ทรัพย์สินในอาคาร และทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องเสียชีวิตภายใน 180 วัน นับจากวันเกิดอุบัติเหตุ บริษัทก็จะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัย

ข้อปฏิบัติในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

การ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เมื่อเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขใน กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน ผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติดังนี้

1. แจ้งเป็นหนังสือให้บริษัททราบโดยพลัน
2. กรณีโจรกรรม หรือพยายามกระทำการดังกล่าว ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที
3. การ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้ข้อตกลงคุ้มครอง ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งและส่งมอบหลักฐานตามที่บริษัทร้องขอ พร้อมทั้งรายละเอียดของทรัพย์สินที่สูญเสียหรือเสียหายภายใน 30 วัน นับแต่วันเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย
4. การ เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายใต้ข้อตกลงคุ้มครอง ผู้เอาประกันภัยต้องส่งหมายศาล หมายเรียกใด ๆ หรือกระบวนการทางกฎหมายอื่น ๆ ให้แก่บริษัท และต้องให้ข้อมูลและความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่บริษัท
5. ผู้ เอาประกันภัยต้องไม่ตกลงหรือยอมรับ หรือประนีประนอม หรือปฏิเสธการเรียกร้องใด ๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากบริษัทเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการซ่อม แซมทรัพย์สินที่เสียหาย เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายต้องรับผิด หรือบริษัทไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนภายในเวลาอัน สมควร

หลักเกณฑ์ที่บริษัทใช้ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

หลักเกณฑ์ที่บริษัทประกันภัยใช้ในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในแต่ละหมวดความคุ้มครอง มีดังต่อไปนี้

หมวด 1 ความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคาร
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อความสูญเสียหรือเสียหายต่ออาคารตามความเสียหายที่แท้จริง โดยชดใช้เป็น เงินสด หรือทำการซ่อมแซม หรือ ทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม แต่ทั้งนี้ จะไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

หมวด 2 ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินในอาคาร
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินในอาคารที่เอาประกันภัย ตามจำนวนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินในขณะเกิดความสูญเสียหรือเสียหาย แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ความสูญเสียหรือเสียหาย แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

หมวด 3 ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราวและการสูญเสียค่าเช่า
สำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าเช่าที่พักอาศัยชั่วคราว ตามจำนวนเงินค่าเช่าที่ได้จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

สำหรับ การสูญเสียค่าเช่า บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าเช่าที่ผู้เอาประกันภัยเคยได้รับจาก การให้เช่าอาคารที่เอาประกันภัยนั้น แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
หมวด 4 ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอก ดังนี้
การเสียชีวิต จะชดใช้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
การบาดเจ็บ จะชดใช้เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่ได้จ่ายไปจริง รวมทั้งค่าชดเชยตามสมควร แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

สำหรับความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินขณะที่เกิดความเสียหาย แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
หมวด 5 เงินชดเชยการเสียชีวิตของผู้เอาประกันภัย
หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองในหมวดนี้ ดังได้กล่าวมาแล้ว บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ แต่ทั้งนี้ ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

กรณีที่บริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ในการประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน บริษัทประกันภัยสามารถปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ในกรณี ดังต่อไปนี้

1. กรณี ที่อาคารถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่มีผู้อยู่อาศัยเกิน 15 วันติดต่อกัน แล้วเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายต่ออาคารและทรัพย์สินในอาคารที่ทำประกัน ภัยนั้น
2. กรณีที่มีการเคลื่อนย้าย ทรัพย์สินออกนอกอาคารเป็นการชั่วคราว เพื่อขายหรือนำออกแสดงนิทรรศการและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินนั้น ในขณะที่อยู่นอกอาคารที่เอาประกันภัย
3. กรณี เป็นความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินบางประเภท เช่น เงินสด เพชร พลอย โฉนดพันธบัตร ตั๋วเงิน ต้นฉบับเอกสาร เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในข้อยกเว้น ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์
4. กรณีที่เป็นความบาดเจ็บทางร่างกายของ สมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลที่อยู่ประจำในบ้านของผู้เอาประกันภัย หรือผู้ปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัย
5. กรณี ที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินซึ่งเป็นของ หรืออยู่ในความควบคุมดูแลของผู้เอาประกันภัย หรือสมาชิกในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย
6. ความ บาดเจ็บทางร่างกาย หรือเสียชีวิตและความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่เกิดขึ้นจากอาชีพ หรือธุรกิจของผู้เอาประกันภัย หรือจากการใช้ลิฟท์ บันไดเลื่อน หรือยานพาหนะใด ๆ

ข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจทำประกันภัยเจ้าบ้าน


ข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจการประกันภัยเจ้าบ้าน มีดังนี้

1. ต้อง สำรวจดูถึงสภาพความเสี่ยงภัยและความต้องการความคุ้มครองของเจ้าของอาคารที่ อยู่อาศัยว่า ความจำเป็นต้องทำประกันภัยหลายอย่างในขณะเดียวกันหรือไม่ เช่น ต้องการความคุ้มครองจากอัคคีภัย จากโจรกรรม ทรัพย์สิน ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และการสูญเสียค่าเช่า เป็นต้น ถ้าหากผู้เอาประกันภัยได้ทำการประกันภัยแต่ละแบบ หรือมีกรมธรรม์ประกันภัยหลายฉบับอยู่แล้ว การทำประกันภัยเจ้าบ้านฉบับเดียวโดยได้รับความคุ้มครองทั้งหมดจะเกิดความ สะดวกและประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้มากกว่า
2. ผู้ ที่เป็นเจ้าของอาคารซึ่งมีรายได้หลักจากการให้เช่าอาคาร เช่น เจ้าของห้องชุดให้เช่า เจ้าของอพาร์ทเมนท์ เจ้าของหอพัก เป็นต้น จะได้ประโยชน์ เพราะโดยปกติมักจะมีการประกันอัคคีภัย การประกันภัยการสูญเสียค่าเช่าอยู่แล้ว และขอแนะนำให้ซื้อการประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเพิ่มเติม ดังนั้น การซื้อการประกันภัยสำหรับเจ้าของบ้านกรมธรรม์เดียวจะให้ความคุ้มครองครอบ คลุมถึงความคุ้มครองทุกส่วนที่ต้องการ
3. ชาว ต่างชาติที่มาทำงานอยู่ในประเทศไทยมักจะให้ความสำคัญกับเรื่องการประกันภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความรับผิดต่อบุคคลภายนอก นอกจากนี้ยังมีความต้องการความคุ้มครองถึงทรัพย์สินของคนใช้หรือผู้ติดตาม ด้วย ซึ่งกรมธรรม์สำหรับเจ้าบ้านบางแบบอาจจะมีการขยายความคุ้มครองถึงเสื้อผ้า และทรัพย์สินส่วนตัวของคนใช้หรือผู้ติดตามของผู้เอาประกันภัยและที่อยู่ใน บ้านของผู้เอาประกันภัย
4. สำหรับบ้านอยู่ อาศัยโดยทั่วไปจะมีความจำเป็นหรือไม่นั้น ควรพิจารณาถึงภัยที่คุ้มครองตามกรมธรรม์ว่า มีความจำเป็นหรือมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายมากน้อยขนาดไหน เพราะการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับเจ้าของบ้านจะต้องซื้อภัยทั้งหมดซึ่ง อาจจะทำให้ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยแพงกว่าการเลือกซื้อ กรมธรรม์เฉพาะแบบที่ต้องการ

ผู้เช่า ซึ่งเป็นผู้เช่าบ้าน ผู้เช่าคอนโดมิเนียม/ห้องชุด ผู้เช่าอพาร์ทเมนท์ เป็นต้น สามารถทำประกันภัย สำหรับเจ้าบ้านได้แต่จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะส่วนของความสูญเสีย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของตนและความรับผิดต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น สำหรับตัวอาคารนั้น ผู้เช่าไม่สามารถนำไปทำประกันภัยได้ เนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์หรือส่วนได้เสียในทรัพย์สินดังกล่าว